วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์



เรื่องที่1 จริยธรรมในระบบสารสนเทศ


           
     
             ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์

2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด

3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

เรื่องที่ 2 พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศ




1. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเกิดจากความต้องการสารสนเทศ ซึ่งมีบริบท
เฉพาะตัวผู้แสวงหาสารสนเทศ ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น
สภาพแวดล้อม ความสนใจเฉพาะตัว และความตั้งใจ เป็นต้น
2. อุปสรรคที่ขัดขวางการแสวงหาสารสนเทศ เช่น อุปสรรคในการเข้าถึงสารสนเทศ
พื้นความรู้ของผู้แสวงหาสารสนเทศ ตาแหน่งและหน้าที่การงานของผู้แสวงหาสารสนเทศ
3. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาสารสนเทศ 8
ขั้นตอน โดยขั้นตอนเหล่านี้ไม่จาเป็นเกิดขึ้นนับแต่ขั้นแรกไปจนขั้นสุดท้ายตามล าดับก็ได้ คือ
3.1 การเริ่มต้น เป็นการเริ่มต้นแสวงหาสารสนเทศ ผู้แสวงหาสารสนเทศอาจเริ่มต้น
จากการสอบถามเพื่อนร่วมงานหรือผู้รู้ หรือการอ่านตาราพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ
3.2 การเชื่อมโยงร้อยเรียง เป็นการเชื่อมโยงสารสนเทศจากการอ้างอิงหรือ
บรรณานุกรม โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงย้อนหลังหรือการเชื่อมโยงไปข้างหน้า
3.3 การสารวจเลือกดูเป็นการค้นหาโดยมีเรื่องที่ต้องการหรือสนใจอยู่อย่างกว้างๆ
3.4 การแยกแยะ เป็นการแยกแยะสารสนเทศที่แสวงหาได้ โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น
ชื่อผู้แต่ง ชื่อวารสาร เป็นต้น
3.5 การตรวจตรา เป็นการตรวจตราวรรณกรรมหรือสารสนเทศใหม่ในสาขาวิชา
หรือแวดวงวิชาการที่ตนสนใจและคุ้นเคย
3.6 การดึงสารสนเทศออกมา เป็นการดึงสารสนเทศที่ต้องการจากรายงานวิจัย
บทความวารสาร หนังสือ เป็นสารสนเทศแบบเฉพาะเจาะจงที่สามารถนาไปใช้ได้ทันที
3.7 การตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้รับ
3.8 การจบ เป็นการแสวงหาสารสนเทศขั้นสุดท้ายเพื่อเก็บรวบรวมสารสนเทศที่
แสวงหาได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และให้เกิดความแน่ใจว่าได้สารสนเทศในระดับที่ต้องการแล้ว

เรื่องที่ 3 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์




     จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"
ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
การละเมิดลิขสิทธิ์

โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

เรื่องที่4  อาชญากรรมคอมพิวเตอร์




อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)
1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง


เรื่องที่ 5 วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์




1.การใช้ username หรือ user ID และ รหัสผ่าน (password) ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในภายหลัง และควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่ แฮกเกอร์สามารถเดาได้
2.การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ ซึ่งรหัสผ่านไม่ควรใช้ปีเกิด หรือจดลงในบัตร
3.การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4.ระบบเรียกกลับ (callback system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทำงาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอาจต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า




คำศัพท์ทางการตลาด

1. Joint ventur การลงทุนร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไป

2. Layoff การเลิกจ้างงาน

3. Leader ผู้นำ

4. Leasing วิธีการได้ทรัพย์สินหรือสิ่งของมาใช้โดยไม่ต้องซื้อ

5. Liquidity สภาพคล่อง

6. Loyalty ความจงรักภักดีที่คนมีต่อกลุ่มและเป้าหมายของกลุ่ม

7. Management การบริหารจัดการ

8. Market value ราคาปัจจุบันที่สินค้าหนึ่งสินค้าใดสามารถขายได้ในตลาด

9. Mass production การผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเดียวกันเป็นจำนวนมาก

10. Merger การที่บริษัทมากกว่า 2 แห่ง รวมเป็นบริษัทเดียวกัน

บทที่6 กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลสรุปนี้ไม่พร้อมใช้งาน โปรด คลิกที่นี่เพื่อดูโพสต์

บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค



เรื่องที่1 ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค



         
        หมายถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บริโภคทุกคนที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อวัตถุประสงค์เช่นว่านี้รวมกันเรียกว่าตลาดผู้บริโภค ผู้บริโภคทั่วโลกนั้น มีความแตกต่างกันในลักษณะประชากรอยู่หลายประเด็น เช่น ในเรื่องของอายุ รายได้ ระดับการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม และรสนิยม เป็นต้น ทำให้พฤติกรรมการกินการใช้ การซื้อ และความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป ทำให้มีการซื้อการบริโภคสินค้าและบริการหลาย ๆ ชนิดที่แตกต่างกันออกไป นอกจากลักษณะประชากรดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้มีการบริโภคแตกต่างกัน

เรื่องที่2 ประเภทของผู้บริโภค

1.กลุ่มผู้บริโภคยึดค่านิยมกลุ่มเน้นความต้องการขึ้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต สินค้าที่จำเป็น และเกิดประโยชน์สูงสุดกลุ่มยึดถือตนเอง (The inner directed group)
-I am me group
-Experientials group
-Societally conscious group
2.กลุ่มปัจจัยด้านสังคม (Social Factors Group)
Opinion Leaders Group กลุ่มผู้นำทางด้านความคิด อาจจะเป็นบุคคลสาธารณะ มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ
Reference group กลุ่มอ้างอิง
กลุ่มอ้างอิงทางตรง (Direct group) เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคมากที่สุด เช่น ภรรยา สามี หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิท
กลุ่มอ้างอิงทางอ้อม (Indirectly group) เป็นกลุ่มเลือกบริโภคในลักษณะคาดหวัง หรือหวังในอนาคต เช่น นิยมทีมฟุตบอลต่างประเทศ ก็จะหาซื้อเสื้อทีม หรือสัญลักษณ์มาบริโภค เป็นต้น
Family ครอบครัว แบ่งบทบาท หน้าที่และอำนาจในการตัดสินใจดังนี้ - ตัดสินใจแบบร่วมกัน - ตัดสินใจโดยภรรยาคนเดียว - ตัดสินใจโดยสามีฝ่ายเดียว - ตัดสินใจแบบอิสระ

3.กลุ่มตามวงจรชีวิต (Life Cycle Group)
คือ กระบวนการของชีวิตของบุคคล ที่ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตามลำดับ โดยอาศัยเหตุและปัจจัยต่างๆ มาเป็นตัวกำหนดทิศทาง
เวลส์ และกูบาร์ ได้ศึกษาวิจัย รวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ไว้ 7 ขั้นตอนดังนี้
1. Bachelor Stage (ขั้นเป็นโสด)2. Newly Married Couples (ขั้นเริ่มมีชีวิตคู่)
3. Full Nest 1 (ขั้นมีบุตรคนแรก)
4. Full Nest 2(ขั้นบุตรเป็นเด็กโต)
5. Full Nest 3 (ขั้นครอบครัวมีบุตรเข้าสู่วัยรุ่น)
6. Family Alone (ขั้นครอบครัวโดดเดี่ยว)
7. Family Age (ขั้นครอบครัววัยชรา)

4.ชนชั้นของสังคม
หมายถึงการกำหนดกลุ่มของบุคคลที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่คล้ายกันมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยจะสังเกตได้จากการปฏิบัติพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มต่างๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อาชีพ การศึกษา รายได้ เป็นต้น
โครงสร้างชั้นทางสังคม
แบ่งไว้ 6ขั้น ดังนี้
ชนชั้นสูง Upper – Upper class
ชนชั้นเศรษฐีใหม่ Lower – Upper class
ชนชั้นผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ Upper – Middle class
ชนชั้นลูกจ้าง พนักงานทั่วไป Lower- Upper class
ชนชั้นคนจน Upper – Lower class
ชนชั้นคนงาน Lower – Lower class

เรื่องที่3 ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมผู้บริโภค



ปัจจัยด้านบุคคล - ช่วงวัยของบุคคล - วงจรครอบครัว ที่แตกต่างไปตามความจำเป็น (ช่วงวัยศึกษา/วัยทำงาน/วัยแต่งงาน/ช่วงมีบุตรคนแรก/ช่วงมีบุตรวัยรุ่น/วัยกลางคน/วัยสูงอายุ/วัยเดียวดาย)
แรงจูงใจ คือ พลังที่อยู่ภายในจิตใจที่สะท้อนออกมา ที่เกิดจากแรงกระตุ้น แรงผลัก เพื่อหวังจะได้บรรล
เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง มาสโลว์ 5 ขั้นตอน
-ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย
-ขั้นความต้องการความปลอดภัย
-ขั้นความต้องการด้านสังคม
-ขั้นต้องการการยกย่อง
-ขั้นต้องการความสำเร็จในชีวิต

เรื่องที่4 ทฤษฏีความพึงพอใจของผู้บริโภค


ความพึงพอใจ คือ อารมณ์ของจิตใจที่ยอมรับ หรือมีความรู้สึกว่าสิ่งนั้นคุ้มค่า หรือสินค้าและบริการนั้นสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่ จนเกิดความรู้สึกดี ไว้วางใจต่อสิ่งนั้น จนเกิดการยอมรับในการใช้บริการครั้งต่อๆ ไป จนเกิดความภักดี

ส่วนลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถนำมาพิจารณาได้ 3 ประเภทคือ
กลุ่มผู้บริโภคที่ภักดีต่อผลิตภัณฑ์
ลูกค้าที่ไม่ประทับใจ
ลูกค้าขาจร

เรื่องที่5 สาเหตุความไม่พอใจของลูกค้า




-การใส่ใจลูกค้าของพนักงาน
-การบริการล่าช้า ติดขัด อุปกรณ์มีปัญหา
-พนักงานส่วนบริการต่างๆ ไม่เต็มที่ และเต็มใจในการที่จะให้บริการ
-การกำหนดราคาขายที่ไม่เหมาะสม

หลักการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค
ความพึงพอใจของผู้บริโภคเกิดจากการที่ได้รับรู้ รับทราบ หรือมีประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อมจากการใช้บริการในอัตราที่เกินกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้ แบ่งออกเป็น
-สิ่งแวดล้อม
-ผู้ให้บริการ
-ผู้รับบริการ





คำศัพท์ทางการตลาด

1. Deflation  เงินฝืด

2. Demand อุปสงค์

3. Depression ช่วงที่ธุรกิจตกต่ำติดต่อกัน 

4. Discharge ปลดคนงานออกเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง

5. Dividendเ  งินปันผลกำไรของบริษัทส่วนที่นำมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้นเป็นงวด ๆ

6. Enfranchise ให้สิทธิในการออกเสียง

7. Enterprise บริษัท รัฐวิสาหกิจ ห้างหุ้นส่วน กิจการทางธุรกิจต่าง ๆ

8. Executive  เจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนและการควบคุมดูแลการทำงานของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

9. Feedback  ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการทำงาน เพื่อประกอบการตัดสินใจในอนาคต

10. Franchise การที่องค์การหนึ่งให้สิทธิผู้อื่นเป็นผู้ขาย

บทที่4 การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์



เรื่องที่1 การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์




       การค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า คือ รูปแบบของการค้าปลีกที่การขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคทำโดยไม่ต้องใช้ร้านค้าปลีก สามารถจัดประเภทตามรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารกับลูกค้า ได้ 5 แบบประกอบด้วย การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าปลีกทางแคตาล็อกและไปรษณีย์ทางตรง (Catalog and Direct-mail Retailing) การขายตรง (Direct Selling) การเลือกซื้อสินค้าทางโทรทัศน์ที่บ้าน (TV Home Shopping) และเครื่องจำหน่ายสินค้า (Vending Machines)การค้าปลีกปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้
1.ร้านค้าเสมือน  (Virtual shoping) เป็นร้านค้าแห่งอนาคต ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รูปแบบของการให้บริการตนเอง (Self service) แต่ผู้บริโภคต้องสามารถเข้าถึงการบริการและสินค้าได้จากทุกที่ทุกเวลา ผ่านสื่อต่างๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต 3 มิติ (3-D Internet) และร้านค้าเสมือนจริงนี้ ต้องสามารถสร้างบรรยายกาศการช็อบปิ้งให้เสมือนจริง ตั้งแต่การนำเสนอ รวมไปถึงการสั่งซื้อสินค้า และการทำธุรกรรมทางการเงิน
2.ตลาดกลาง เว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมร้านค้าเสมือนต่าง ๆ มารวบรวมไว้ในที่เดียว เพื่อคอยเป็นสื่อกลางวและอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ต้องการค้นหาสินค้าประเภทต่าง ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปหาที่ต่าง ๆ

เรื่องที่2 กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์



1.กระบวนการก่อนตัดสินใจ
*ความต้องการพื้นฐาน
*หาข้อมูลสินค้า
   -ทางอิเตอร์เน็ต
   -เอกสาร/แค็ตตาล็อก
   -ผู้ที่เคยใช้
2.กระบวนการตัดสินใจซื้อ 
*ราคา
*คุณภาพ
*ประโยชน์
*การบรรจุ
*ขั้นตอนการส่ง
*ภาพลักษ์
3.กระบวนการหลังการขาย
*บริการหลังการขาย
*ข้อมูลในการแก้ปัญหา
*การรับประกัน
*การช่วยเหลือด้านเทคนิด

เรื่องที่3 ประเภทลูกค้าในระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์

1.ประเภทเน้นคุณภาพชีวิต เป็นกลุ่มที่มีการศึกษา และมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาไปมากขึ้น การใช้ชีวิตจะทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของสังคมและเทคโนโลยี
2.ประเภทเน้นตราสินค้า เป็นกลุ่มที่มีความนิยม มั่นใจ และภักดีในแบรนสินค้า เช่นถ้าจะซื้อกางเกงยีนส์ต้องเป็นยี่ห้อ lee เท่านั้น
3.ประเภทนิยมสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่ชอลศึกษา ชอบค้นหาสินค้าแปลกใหม่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ชอบสินค้าที่มีสีสัน ทันสมัย และแปลกใหม่ จะเป็นนักท่องอินเตอร์เน็ต เข้ามาดูสินค้า เช็คราคาสินค้า
4.ประเภทเก็บข้อมูล กลุ่มนี้นิยมค้นหาและติดตาม เปรียบเทียบสิค้าและตัดสินใจ โดยนำรายละเอียดมาเปรียบเทียบกัน เช่น ในเรื่องการออกแบบ คุรภาพพ ราคา เป็นต้น
5.ประเภททันกระแส เป็นคนรุ่นใหม่ ยังไม่มีครอบครัว หรือนักศึกษา วัยรุ่นที่สนใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีตลอดเวลา


เรื่องที่4 รูปแบบการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

1.Online catalogue คือร้านค้าออนไลน์ที่นำรายการสินค้าแต่ละชนิดมาแสดงบนเว็บไซต์ โดยสินค้านั้นต้องเป็นดาวเด่น เพื่อนำเสนอภาพลักษ์ขององค์กร
2.E-tailing เป็นการขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง โดยจะแสดงรายละเอียดให้กับลุกค้ามากที่สุด
3.Auction Online คือการเปิดเว็บไซต์ออนไลน์ โดยร้านค้าลักษณะนี้จะทำการประมูลก่อนทำการซื้อ-ขายสินค้า
4.Supply Chain Web Site คือเว็บไซต์บริการจัดหา และบริการส่งสินค้าโดยการนำสินค้าต่างๆจากทั่วประเทศมาไว้บนเว็บไซต์ของตน
5.E-maketplace คือตลาดกลางการซื้อขายสินค้า โดยผู้ประกอบการมีเป้าหมายสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางสินค้า


เรื่องที่5 ปัจจัยที่มีผลต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

1.การวางแผน
1.1ผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการต้องทำการวิเคราะห์ว่าเจาะกลุ่มลูกค้าแบบใด กลุ่มเป้าหมายคือใคร ลักษณะของสินค้า สี ขนาด รูปทรง และรูปร่างของสินค้า และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือการสร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวสินค้าเพื่อเป็นที่จดจำ
1.2ราคา ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย และวิเคราะห์ ให้ออกว่ามีผลต่อผู้บริโภคอย่างไร
1.3การจัดจำหน่าย สถานที่ตั้งสำหรับการจัดจำหน่ายของสินค้า ว่าจะเลือกทางไหน
1.4โปรโมชั่น การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการตลาด การส่งข่าว การสร้างกระแสให้กับตัวสินค้า การลดราคา การตั้งโปรโมชั่น
2.สร้างระบบ E-commerce  การเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องทำการวางแผนสร้างระบบ เพื่อให้รองรับการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจะทำให้ดำเนินงานสำเร็จได้ตามเป้าหมายทั้งด้านระบบเทคดนโลยีและบุคลากรฒ,งบประมาณและเทคนิคการดปรโมตเว็ยไซต์






คำศัพท์ทางการตลาด


1. Certification  การรับรองเอกสารทางการ เช่น การจบหลักสูตรการศึกษาอบรมหรือการให้บริการทางวิชาชีพ

2. Chairman    ประธานกรรมการบริหารขององค์กร

3. Coaching การพัฒนาคุณภาพและทักษะของคนในองค์กรใ

34. Commerce พาณิชยกรรม

5. Committee  คณะกรรมการผู้ได้รับแต่งตั้ง

6. Compromise  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง

7. Consumption  การบริโภค

8. Contract  สัญญาตามกฎหมาย

9. Credit  การให้บุคคลมีสิทธิชำระเงินหลังจากได้รับสินค้าแล้วระยะเวลาหนึ่ง

10. Deal  การตกลงทางธุรกิจ




บทที่2 รูปแบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์




เรื่องที่1 รูปแบบการตลาดและการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์


การทำการตลาดอิเล้กทรอนิกส์ จะมีรูปแบบที่แตกต่างจากธุรกิจทั่วๆไป เพราะเป็นการดำเนินงานที่โฆษณา,การเลือกซื้อ,การสั่งซื้อ,กระบวนการชำระเงินและอื่นๆ โดยผ่านอิเล็กทรอนิกส์ที่เราคุ้นเคย
การทำตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบต่างที่จำแนกได้ 9รูปแบบดังนี้
1.Consumer to Consumer ผู้บริโภคกับผู้บริโภค
2.Business to Business ธุรกิจกับหน่วยธุรกิจ 
3.Business to Consumer ธุรกิจกับผู้บริโภค
4.Business to Goverment ธุรกิจกับรัฐบาล
5.Goverment to Business รัฐบาลกับธุรกิจ
6.Goverment to Goverment รัฐบาลกับรัฐบาล
7.Goverment to Citizen รัฐบาลกับประชาชน
8.Consumer to Business ผู้บริโภคกับธุรกิจ
9.Citizen to Goverment ประชาชน รัฐบาล

เรื่องที่2 ระบบสนับสนุนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์


       ผู้ประกอบการที่มีความคิดก้าวหน้าย่อมไม่สามารถมองข้ามสิ่งสนับสนุนเหล่านี้ได้แต่พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เข้มแข็งมากขึ้นตามลำดับ ดดยสิ่งที่เป็นตัวสนับสนุนให้การทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มีความคล่องตัวมากขึ้นในการทำธุรกรรมขอนำเสนอดังนี้
1.TPSP (Transaction processing Service Provider)
หมายถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่พัฒนาโปรแกรมเกี่ยวกับการอำนวยการในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โปรแกรมประมวลผลชำระค่าสินค้า,ระบบการตัดเงินจากบัตรเครดิต
2.MERCHANT
หมายถึงการที่ผู้ประกอบการร้านค้าเปิดร้ายขายจองโดยเปิดเว็บไซตฺหรือเว็บบล็อก เพื่อให้ง่ายเเละสะดวกต่อการทำธุรกรรม เช่น การชำระสินค้า
3.CUSTOMER
ลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นผู้สำคัญที่สุดในธุรกิจ ถ้าธุรกิจไม่มีลูกค้าย่อมไม่สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้
4.BANK
ธนาคารเป็นหน่วยงานที่อำนวยการความสะดวกในธุรกรรมทางการเงินทั่วไป
5.Internet Service Provider
หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กรทางธุรกิจที่ทำหน้าที่ให้การบริการเชื่อมต่อ เชื่อมโยงการสื่อสารกันทางระบบออนไลน์ให้กับหน่วยธุรกิจ

เรื่องที่3 การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

   
   
      ธุรกิจ Shop 2 Rich เป็นธุรกิจร้านค้าแอนไลน์ของคนไทย โดยมีบริการแบบแฟรนไชส์เป็นร้านค้าสำเร็จรูป เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเปิดร้านค้าออนไลน์ เป็นร้านค้าที่มีสินค้าให้เลือกหลากหลายชนิดมากกว่า 1000 รายการ โดยสามารถลงทุนได้เพียง 300 บาท ก็เป็นเจ้าของได้ทันที โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ darika.shop2rich.net



     
    ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่น Cloth 2 Rich เป็นธุรกิจค้าขายเสื้อผ้าแฟชั่นที่ทันสมัย สไตล์ต่างประเทศโดยนำเสื้อผ้ามาจากต่างประเทศ เช่นเกาหลี ญี่ปุ่น มีหลายรูปแบบให้เลือก โดยเปิดรับสมาชิกผู้สนใจค้าขายในรูปของแฟรนไชส์ ลงทุนครั้งแรกประมาณ 500 บาทก็สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันทีเป็นธุรกิจที่มีลักษณะยืดหยุ่นง่าย เช่น สามารถเปิดรายได้ได้ทุกวัน






เรื่องที่4 E-Bay 


          คือ เว็บไซท์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตลาดกลางในการ ซื้อ-ขาย-ประมูล สินค้าต่างๆ จากทั่วโลก ปัจจุบันมีสินค้ามากกว่า 400 ล้านชิ้น มีจำนวนผู้ที่เข้าไปซื้อ-ขาย-ประมูล สินค้า มากกว่า 200 ล้านคน มียอดซื้อ-ขายสินค้ามากกว่า 140,000 ล้านบาท/ปี ถือว่าเป็นตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ทำให้ในปัจจุบันมีคนและผู้ประกอบการจำนวนมากสามารถใช้ eBay เป็นช่องทางหลักในการขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงโรงงานผลิตสินค้าขนาดใหญ่
       จากที่กล่าวมา หากท่านเริ่มมีความสนใจในการทำธุรกิจบนเว็บ eBay แล้ว ท่านควรจะต้องเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 
เปิดบัญชี eBay ที่เว็บ www.ebay.com 
เปิดบัญชี PayPal ที่เว็บ www.paypal.com 
มีบัตรเครดิต หรือ K-Web Shopping Card (ติดต่อธนาคารกสิกรไทย) 
มี Email Address 
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย สินค้าบน eBay รวมทั้ง กฏ กติกา ต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดกฏ ซึ่งจะส่งผลให้บัญชีอีเบย์ของคุณถูกระงับ 


เรื่องที่ 5 paypal


        PayPal มีหลายความหมายมากเหลือเกิน ทั้งเป็นบริการธนาคารออนไลน์ , บริการชำระเงินออนไลน์บ้าง , กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ แต่โดยสรุปแล้ว Paypal คือ บริการ ที่ผู้ใช้ทั้งบุคคลธรรมดาและภาคธุรกิจใช้เป็นช่องทางส่งและรับเงินออนไลน์ เปรียบเสมือนธนาคารและกระเป๋าสตางค์ออนไลน์ ที่สามารถโอนเงินจากบัญชี PayPal ของเรา ไปยังบัญชี PayPal รายอื่นได้ และใช้เป็นช่องทางในการซื้อสินค้า และบริการออนไลน์ต่างๆ ทางเว็บไซต์ที่มีปุ่มสัญลักษณ์ Paypal อยู่
ซึ่งข้อดีของการมีบัญชี Paypal คือ

-กรณีสมัครบัญชี PayPal บุคคลทั่วไป 
สามารถชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัญชีธนาคารของเรา 
ซื้อสินค้าได้อย่าง ปลอดภัย ไม่ต้องเปิดเผยหมายเลขบัตรเครดิตหรือข้อมูลทางการเงิน เพียงแค่ใช้บัญชีPayPal นั่นคือ อีเมล์ของคุณนั่นเอง 
โดยการซื้อสินค้าด้วย PayPal ในเว็บ eBay และร้านค้าออนไลน์หลายพันแห่ง ทั่วโลก ที่มีสัญลักษณ์ PayPalและช่องทางการชำระเงินรองรับทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต และฝากบัญชีธนาคาร 


-กรณีสมัครบัญชี PayPal ธุรกิจ 
ระบบบนี้รับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัญชีธนาคารโดยมี ค่าธรรมเนียมในการทำรายการต่ำ 
ใช้ PayPal ในเว็บไซต์ของคุณได้ในไม่กี่นาที โดยไม่ต้องหยุดให้บริการ 
เข้าถึง ฐานผู้ใช้งาน ที่เป็นนักช้อปตัวจริงหลายล้านคน และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ 
มีค่าธรรมเนียมในการรับเงินเล็กน้อย ยิ่งขายได้เยอะยิ่งค่าธรรมเนียมยิ่งถูก 

วิธีใช้ Paypal
หากคุณเห็นว่าเว็บนั้นรองรับการชำระเงินผ่านทาง PayPalละก็ นั่นหมายความว่าคุณสามารถใช้บัญชี Paypal ในการชำระเงินได้ ซึ่งช่องทางยอดนิยมในการใช้คู่กับ PayPalคือ บัตรเดบิต และบัตรเครดิต นั่นเอง ดังนั้นใครไม่มีบัตรเครดิตแต่มีบัตรเดบิต ก็สามารถซื้อสินค้าจากเว็บต่างประเทศและชำระผ่านทาง Paypal ได้ โดยจะตัดผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตของคุณ





คำศัพท์ทางการตลาด

1. Absorption   การรวมธุรกิจเล็กเข้าด้วยกันกับธุรกิจใหญ่

2. Accountability   สภาพที่บุคคลหนึ่งสามารถที่จะกระทำงานที่เขามีสิทธิอำนาจที่จำเป็น โดยเขาเป็นผู้รับผิดชอบผลการกระทำนั้น ๆ
3. Achievement   การทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

4. Acquisition  การขยายกิจการแบบเข้าไปซื้อ

5. Added valve  การเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการจากกระบวนการผลิตหรือการกระจาย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังแรงงานเปลี่ยนแปลงวัตถุให้มีมูลค่าสูงขึ้น บางครั้งวัดด้วยส่วนต่างระหว่างรายได้ จากการขายและรายจ่ายของการลงทุนค่าวัตถุดิบและค่าแรง

6. Agent  ตัวแทน หมายถึง บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทน

ในการซื้อหรือขายหรือในการทำสัญญา

7. Allocation การแบ่งทรัพยากรหรือค่าใช้จ่ายกิจกรรมแต่ละอย่างของ

8. Annotation  บันทึกซึ่งใช้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือวิจารณ์ เสนอแนะหรืออธิบายเอกสารที่ส่งมาก่อนหน้านี้แล้ว

9. Annual report  รายงานผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินขององค์กรธุรกิจประจำปีจากผู้อำนวยการบริษัทถึงผู้ถือหุ้น

10. Aptitude test  การทดสอบความถนัด การทดสอบเพื่อค้นหาความเหมาะสมในการทำงานเฉพาะอย่างของคน หน่วยงานบางงานใช้การทดสอบนี้ในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน



บทที่3 อินเทอร์เน็ตกับการตลาด

เรื่องที่1 รู้จักกับอินเทอร์เน็ต



          อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น ) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

เรื่องที่2 ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

        หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือเรียกโดยย่อว่า “ไอที” ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บรวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้สำหรับงาน ไอที คือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการทำงานประจำวัน อินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆ ของโลกได้อย่างรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับบุคคลและองค์การ

เรื่องที่3 การบริการบนอินเทอร์เน็ต



1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม
เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)
2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ได้แก่Hotmail , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ
3. Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต) Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการกับ Search Engine
4. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน


เรื่องที่4 อินเทอร์เน็ตกับอินเตอร์เน็ต

          อินเทอร์เน็ต (Internet) นับเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นจำนวนหลายล้านเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ หน่วยงานของราชการ สถานบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย หรือเครือข่ายส่วนบุคคล ซึ่งแต่ละเครือข่ายที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะมีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากร การให้บริการด้านสินค้า และการให้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของตนผ่านอินเทอร์เน็ต วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่ปี 1900 เป็นต้นมา และได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด และมีการเชื่อมต่อเป็นทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) ในเวลาต่อมา ปัจจุบันเชื่อกันว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และได้ขยายไปสู่การบริการด้านธุรกิจ บันเทิง การทำงานร่วมกันในองค์กร และระบบพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้อินเทอร์เน็ตในภาคธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยคู่แข่งขัน การจัดการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และการนำไปใช้เพื่อการสนับสนุนพ่อค้า หรือแม้กระทั่งการซื้อขายผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆรวมไปถึงการให้การบริการด้วย ซึ่งพอประมวลได้ดังต่อไปนี้ คือ (หนังสือพิมพ์เทเลคอม เจอร์นัล, 2550 : ออนไลน์)
การเปิดโฮมเพสเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ไม่ใช่เพียงการขายสินค้าแต่เพื่อทำกิจกรรม และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค Interactive Communication ซึ่งจะช่วยการบริหารงบการตลาดผ่านสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้สื่อแบบ Interactive Communication คือ การใช้สื่อที่สามารถเกิดการสื่อสารโต้ตอบกลับมาได้ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือการตลาดแบบผสมผสาน (IMC)โดยการเลือกใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย


เรื่องที่5 การโปรโมตเว็บไซต์


1.Banner AD เป็นป้ายโฆษณาที่เจ้าของธุรกิจจัดทำขึ้น อาจเป็นรุปภาพ หรือข้อความ หรือลักษณะเป็นภาพกระพริบ เพื่อให้เกิดความสนใจแล้วคลิกเข้าไปในแบรนเนอร์

2.Link คือ หัวข้อต่างๆ ที่สามารถโยงหรือว่าคลิก ไปยังเวบไซต์หรือรายละเอียดที่ระบุเอาไว้ โดยการใช้เมาส์เลื่อนไป คลิก ยังลิงค์ เหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ มักจะมีการขีดเส้นใต้ไว้ ซึ่งหากเราเลื่อน ลูกศรเมาส์ ไปอยู่บน ลิงค์ ก็จะปรากฎ เป็นรูปมือที่ยื่น นิ้วชี้ ออกมาบนหัวข้อนั้นๆ

3.Push Technology เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารไปให้กับผู้บริโภค ดดยใช้ระบบส่งข่าวสารและข้อมูลอัตโนมัติ

4.interstitals เป็นรูปแบบการโปรโมตเว็บสำเร็จรูปที่แทรกลงในเว็บไซต์ จะแสดงในช่วงที่ผู้ใช้กำลังโหลดข้อมูลและเนื่อหายังไม่แสดงผล

5.Sponsorships เป็นการโปรโมตของผู้ให้การสนับสนุน สามารถเห็นได้ตามเว็บไซต์ต่างๆส่วยมากจะอยู่ริมขวาบน

6.Pop-up เป็นลักษณะหน้าต่างปรากฏขึ้นมาในขณะที่ผู้ใช้เปิดเว็บไซต์อื่นอยู่

7.บริการเว็บไดเร็กทอรี่ มีทั้งแบบจ่ายเงินและไม่จ่ายเงินโดยเจ้าของเว็บไซต์จะต้องทำการร้องขอให้โฆษณาให้แต่โดยทั่วไปถ้าอยากให้อยู่ในอันดับต้นๆจะต้องจ่ายค่าใช้บริการ เว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น google,yahoo,sanook เป็นต้น

8.Search Engine คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป





คำศัพท์ทางการตลาด

1. Bottom up   ระบบการบริหารจัดการแบบให้คนงานจากข้างล่างสุดมีส่วนในการเสนอแนะว่าปรับปรุงงานอย่างไร แทนที่จะให้ผู้บริหารเป็น ผู้สั่งจากบนลงล่าง (to down) แบบเก่าวิธีนี้มักให้ผลดี เพราะคนงานจะเชื่อและอยากทำสิ่งที่ตัวเขาเองเสนอมากกว่าสิ่งที่เขาถูกสั่ง เป็นวิธีการที่ญี่ปุ่นใช้มากอย่างได้ผลและกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น แต่ผู้บริหารมักเคยชินกับวิธีการเก่าและไม่ยอมรับอย่างแท้จริง

2. Brainstorming  กระบวนการแก้ปัญหาโดยวิธีการอภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่มให้แนวทางต่าง ๆ ให้มากที่สุดภายในระยะเวลาอันสั้น ความคิดต่าง ๆ จะจดบันทึกไว้และนำมาประเมินคุณค่าภายหลัง
3. Budget งบประมาณ ประมาณการรายได้และรายจ่ายขององค์กรหรือประเทศสำหรับช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต เช่น งบประมาณปีถัดไป

4. Budgetary control  ระบบบริหารธุรกิจที่ใช้การตั้งงบประมาณรายได้รายจ่ายสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆหลังจากนั้นจึงเอารายได้รายจ่ายจากการดำเนินงานจริง ๆ มาเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ดังกล่าว

5. Business administrationสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการควบคุม, การชี้นำหรือการบริหารจัดการขององค์กรทางธุรกิจ

6. Business cycleวัฏจักรหรือวงจรทางธุรกิจ ช่วงที่เปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระหว่างช่วงธุรกิจที่เฟื่องฟูกับซบเซา

7. Business planแผนธุรกิจ แผนที่เตรียมโดยผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อเสนอต่อผู้ลงทุน โดยการอธิบายแนวความคิดใหม่ทางธุรกิจ และข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องการตลาด การหาทุน และการดำเนินการเพื่อชี้ให้เห็นว่าทำไมจึงเป็นโครงการที่น่าสนใจที่จะลงทุน
8. Capital budgetingการวางแผนการลงทุนที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนในอนาคต

9. Capitalismระบบทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานอยู่ที่การที่เอกชนหรือนายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด โดยการแข่งขันกันในตลาดเสรี

10. Cash flow  กระแสเงินสด